ผู้สอบบัญชีมีกี่แบบ? ผู้สอบภายนอก ผู้สอบภายในคืออะไร อยากรู้คลิก

ประเภทของผู้สอบ สามารถแบ่งได้ 4 ประเภทหลักๆ คือ ผู้ตรวจสอบภายนอก ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบภาครัฐ และผู้ตรวจสอบการทุจริต ซึ่งจะอธิบายได้ต่อไปนี้

1. ผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditors) ประกอบไปด้วย
          1.1 ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือผู้สอบบัญชี (Auditor) เป็นผู้มีหน้าที่รับรองและตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการสอบบัญชี การแสดงความเห็นต่องบการเงินที่ตนเองตรวจสอบไว้ในรายงานการสอบบัญชี ผู้ใดจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะต้องได้รับใบอนุญาติจากสภาวิชาชีพบัญชี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสามารถตรวจสอบและรับงานได้ทุกรูปแบบธุรกิจทั้ง หจก. บจก. บมจ. จะต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์ทางด้านบัญชี 3,000 ชม.(ใช้เวลาประมาณ 3 ปี) แล้วจึงจะสามารถขอเข้าทำการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ ซึ่งจะต้องทำการสอบทั้งหมดจำนวน 6 วิชา
          1.2 ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditors) หรือ TA เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งขอขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากกรมสรรพากร จะสามารถปฎิงานสอบบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนจดไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท
     
2. ผู้ตรวจสอบภายใน (Internal Auditors) หรือ IA เป็นผู้ที่ฝ่ายบริหารขององค์กรแต่งตั้งขึ้นโดยอาจเป็นพนักงานในหน่วยงานหรือบุคคลภายนอกเพื่อทำหน้าที่ปฎิบัติงานตรวจสอบก็ได้ โดยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการตรวจสอบการดำเนินงาน การปฎิบัติตามกฎระเบียบ ไม่ใช่การตรวจสอบงบการเงินและบัญชี

3. ผู้ตรวจสอบภาครัฐ (Government Auditors) ในประเทศไทยมี 2 หน่วยงาน คือ
          3.1 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นองค์กรอิสระ มีหน้าที่ตรวจสอบเงินแผ่นดิน การรับ-จ่าย เก็บรักษาทรัพย์สิน ตรวจสอบและรับรองบัญชีงบการเงินของรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นตามที่กฎหมายกำหนด
          3.2 กรมสรรพากร เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงการคลัง ตรวจสอบภาษี การแสดงรายการเสียภาษีของผูีหน้าที่เสียภาษี

4. ผู้ตรวจสอบการทุจริต (Forensic Auditors) ปฏิบัติงานตรวจสอบโดยได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน สำนักงานบัญชี สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อตรวจสอบสถานการณ์ที่สงสัยว่าจะเกิดการทุจริต



ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การวิเคราะห์กลยุทธ์ กรณีศึกษา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ประเภทของการตรวจสอบ Types of Audits