บทความ

ผู้สอบบัญชีมีกี่แบบ? ผู้สอบภายนอก ผู้สอบภายในคืออะไร อยากรู้คลิก

ประเภทของผู้สอบ สามารถแบ่งได้ 4 ประเภทหลักๆ คือ ผู้ตรวจสอบภายนอก ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบภาครัฐ และผู้ตรวจสอบการทุจริต ซึ่งจะอธิบายได้ต่อไปนี้ 1. ผู้ตรวจสอบภายนอก (External Auditors) ประกอบไปด้วย           1.1 ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) หรือผู้สอบบัญชี (Auditor) เป็นผู้มีหน้าที่รับรองและตรวจสอบบัญชีตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการสอบบัญชี การแสดงความเห็นต่องบการเงินที่ตนเองตรวจสอบไว้ในรายงานการสอบบัญชี ผู้ใดจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจะต้องได้รับใบอนุญาติจากสภาวิชาชีพบัญชี ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสามารถตรวจสอบและรับงานได้ทุกรูปแบบธุรกิจทั้ง หจก. บจก. บมจ. จะต้องจบการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์ทางด้านบัญชี 3,000 ชม.(ใช้เวลาประมาณ 3 ปี) แล้วจึงจะสามารถขอเข้าทำการทดสอบเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ ซึ่งจะต้องทำการสอบทั้งหมดจำนวน 6 วิชา           1.2 ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditors) หรือ TA เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี ซึ่งขอขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากกรมสรรพากร จะสามารถปฎิงานสอบบัญชีให้กับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนจดไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้

ประเภทของการตรวจสอบ Types of Audits

ประเภทของการตรวจสอบ Types of Audits แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การตรวจสอบงบการเงิน การตรวจสอบการปฏิบัติงานงานตามกฎระเบียบ การตรวจสอบการดำเนินงานและการตรวจสอบการทุจริต ซึ่งงานตรวจสอบดังกล่าวเป็นงานตรวจสอบที่ให้ความเชื่อมั่น ซึ่งแตกต่างจากการทำบัญชีพี่เป็นเพียงแค่การบันทึกรายการเท่านั้นไม่ได้ให้ความเชื่อมั่นแต่อย่างใด 1. การตรวจสอบงบการเงิน  financial statement audit การตรวจสอบงบการเงินเป็นการพิจารณาว่าภาพรวมของงบการเงินได้แสดงไว้ตามหลักเกณฑ์ที่ระบุหรือไม่ตรวจสอบประเภทนี้ครอบคลุมงบการเงินประกอบไปด้วย งบแสดงฐานะการเงิน งบกําไรขาดทุน งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น และครอบคลุมถึงหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป 2. การตรวจสอบการดำเนินงาน  operation audit เป็นการตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบกิจกรรม ขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานต่างๆขององค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของการใช้ทรัพยากร จุดมุ่งหมายของการตรวจสอบการดำเนินงานก็เพื่อประเมินผลการดำเนินงานและทำให้ผู้บริหารข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการดำเนินงานภ

การวิเคราะห์กลยุทธ์ กรณีศึกษา บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

การวิเคราะห์กลยุทธ์ กรณี : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วิชา Strategic Management จัดทำโดย นายชินท์ณภัทร   พรหมราช สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา วาสุกรี ปีการศึกษา 2559 วัตถุประสงค์และคำชี้แจง 1. หากข้อมูลที่ผู้ศึกษาได้ค้นคว้านี้ขัดแย้งต่อข้อเท็จจริงประการใด ผู้ศึกษาขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย 2. ข้อมูลการวิเคราะห์นี้เป็นการวิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อการศึกษา 3. การเผยแพร่เอกสารนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการเขียนขึ้น มิได้มีการคัดลอกข้อความลิขสิทธิจากที่อื่นใดมา โดยผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลตัวเลขและข่าวสารทั้งในอดีตและปัจจุบัน ณ ขณะนั้นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์เบื้องต้น เพื่อให้เป็นกรณีศึกษาเพิ่มเติมแก่ผู้้สนใจ และนักศึกษาในรุ่นหลังได้ศึกษาเพียงเท่านั้น ชินท์ณภัทร พรหมราช 11 เมษายน 2560 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) วิสัยทัศน์  “บริษัทพลังงานไทยข้ามชาติชั้นนำ” การวิเคราะห์ตามนิยามความหมายของคำว่าวิสัยทัศน์ 1. สิ่งที่องค์กรปรารถนาในอนาคต                     การเป็นบริษัทพลังงานครบวงจร เป็นที่หนึ่งด้านพลังงาน